ปริมาณสมุนไพรที่ใช้ทานต้องมากพอ เพื่อออกฤทธิ์ ตามที่ต้องการ

ปริมาณสมุนไพรที่ใช้ทานต้องมากพอ เพื่อออกฤทธิ์ ตามที่ต้องการ

สมุนไพรที่ใช้ มีขนาดหรือปริมาณ ที่ใช้ต่างๆ กัน แล้วแต่สมุนไพรนั้นจะมีสัดส่วนของสารสำคัญ อยู่เป็นปริมาณมากน้อยเท่าใด เมื่อใช้ต้องศึกษาดูให้ถ่องแท้ สมุนไพรที่ออกฤทธิ์อย่างเดียวกัน มักมีสารสำคัญที่เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น มะขามแขก หรือ ชุมเห็ดเทศ มี แอนทราควิโนน เป็นสารสำคัญ ถ้าใช้มะขามแขกในรูปใบแห้ง ชงน้ำ เพียง 2 กรัม ก็ช่วยให้ระบายท้องได้ แต่ในผลสลอด มีสารสำคัญ เป็นน้ำมันที่มีพิษ ระคายต่อผิวหนัง ใช้ไม่ถึง 0.5 กรัม หรือ เพียง 1 ใน 4 ของมะขามแขก ก็ถ่ายอย่างรุนแรง หรือการใช้ รงทอง ซึ่งเป็นยางไม้ ใช้เพียง 0.5-1 กรัม ก็ออกฤทธิ์ระบายอย่างแรง ทั้งสลอดและรงทองปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ห้ามใช้ในยาสมุนไพรแล้ว แต่ก็ยังมีผู้แอบใช้ผสมในยาถ่าย เพราะราคาถูก มีสมุนไพรที่ใช้น้อย ประมาณ 2 กรัม แล้วมีฤทธิ์ที่ชัดเจนไม่กี่ตัว เช่น ฟ้าทะลายโจร เพชรสังฆาต มะแว้ง ขมิ้นชัน เครื่องเทศหลายชนิด โกฐหลายชนิด เป็นต้น การใช้สมุนไพรจึงต้องศึกษาด้วยตนเองบ้าง สมุนไพรบางตัวแสดงฤทธิ์ได้ 2 ทาง เช่นสมอไทย ผลอ่อน 30 กรัม ต้มน้ำ 1 ถ้วย จะถ่ายภายใน 2 ชั่วโมง แต่ผลแก่เป็นยาฝาดสมาน ใช้แก้ท้องเดิน อย่างไรก็ตามพึงระวังว่าสมุนไพรอื่น อาจใช้เหมือนกันไม่ได้ เช่น ผลฝรั่งดิบ หรือผลอ่อน มีฤทธิ์ฝาดสมาน แต่ผลฝรั่งแก่ หรือ สุกกลับช่วยให้ระบาย ในการถ่ายท้องเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถ่ายเพื่อขับพยาธิ การใช้ยาระบายข้างต้น ก็ไม่มีผล ต้องใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์เฉพาะทาง เช่น เมล็ดฟักทองแห้ง 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม และตามด้วยดีเกลือ 15-30 กรัมผสมน้ำอุ่น หรือผลมะเกลือ ใช้ขับพยาธิปากขอ และพยาธิเส้นด้าย ต้องใช้ผลสดสีเขียว 25 ผล เป็นต้น นอกจากเรื่องการถ่าย หรือระบายท้องด้วยสมุนไพร ด้วยขนาดปริมาณต่าง ๆ กันแล้ว การใช้สมุนไพรเพื่อสรรพคุณอื่น ๆ ก็คล้าย ๆ กัน คือ ต้องใช้สมุนไพรดิบในปริมาณ ที่มากพอที่จะให้สารสำคัญในปริมาณที่ออกฤทธิได้ เช่น การแก้วิงเวียน คลื่นใส้ อาเจียน ควรใช้กะเพราสด 25 กรัม หรือ กะเพราแห้ง 4-6 กรัม ต้มน้ำดื่ม อาจใช้ เหง้าขิงสด 5 กรัม ทุบแตกต้มน้ำดื่ม แทนก็ให้ผลได้เท่ากัน การขับพิษ หรือการล้างพิษ ก็เช่นกัน สมุนไพรที่ทำหน้าที่ได้ผล ควรต้องมีปริมาณมากพอที่สารสำคัญประกอบอยู่จะออกฤทธิ์ได้ การทานน้อยก็เป็นการสูญเปล่า เหมือนกับการทานยาฝรั่ง ทานน้อยก็ไม่หายเช่นกัน เช่น ขับพิษทางปัสสาวะด้วย รากหญ้าคาแห้ง ควรใช้ประมาณ 10-20 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ้าเป็นอ้อยแดง ใช้ต้นสด 70-90 กรัม เป็นต้น หากต้องการขับเหงื่อ จะใช้เปลือกหม่อน ก็ต้องต้มเปลือกแห้ง 10-15 กรัม ฉะนั้นการใช้สมุนไพรด้วยวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องใช้ปริมาณที่ถูกต้องและควรศึกษาล่วงหน้าก่อนใช้ จะเห็นได้ว่าการที่ผู้ขายยาถ่าย ยาระบาย ได้ในราคาถูก เป็นเพราะต้นทุนน้อยกว่า และใช้ปริมาณน้อยก็ขับถ่ายได้แล้ว แต่สมุนไพรที่ช่วยให้ปัสสาวะคล่อง ขับเหงื่อให้ตัวเบา ต้องใช้ปริมาณสมุนไพรวัตถุดิบมากกว่าหลายเท่าตัว ต้นทุนจึงสูง ประกอบกับโรงงานที่มีมาตรฐานทำการสกัดด้วยเครื่องจักรทันสมัย เพื่อให้ให้ความสะดวกแก่ผู้บริโภค ที่จะได้ทานสมุนไพรสกัดในปริมาณที่น้อยลง จึงมีการลงทุนสูง เป็นผลให้ราคาขายต้องสูงตามไปด้วย แต่คุณภาพเชื่อถือได้ เพราะยืนหยัดอยู่ในตลาดมากว่า 100 ปี กาลเวลาจึงช่วยยืนยันสรรพคุณว่าได้ผลที่ดี และ พิสูจน์คุณภาพได้อย่างมั่นใจ จะเห็นได้ว่าการที่ผู้ขายยาถ่าย ยาระบาย ได้ในราคาถูก เป็นเพราะต้นทุนน้อยกว่า และใช้ปริมาณน้อยก็ขับถ่ายได้แล้ว แต่สมุนไพรที่ช่วยให้ปัสสาวะคล่อง ขับเหงื่อให้ตัวเบา ต้องใช้ปริมาณสมุนไพรวัตถุดิบมากกว่าหลายเท่าตัว ต้นทุนจึงสูง ประกอบกับโรงงานที่มีมาตรฐานทำการสกัดด้วยเครื่องจักรทันสมัย เพื่อให้ให้ความสะดวกแก่ผู้บริโภค ที่จะได้ทานสมุนไพรสกัดในปริมาณที่น้อยลง จึงมีการลงทุนสูง เป็นผลให้ราคาขายต้องสูงตามไปด้วย แต่คุณภาพเชื่อถือได้ เพราะยืนหยัดอยู่ในตลาดมากว่า 100 ปี กาลเวลาจึงช่วยยืนยันสรรพคุณว่าได้ผลที่ดี และ พิสูจน์คุณภาพได้อย่างมั่นใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *