ที่มาของตำรับยาขมน้ำเต้าทอง

ยาขมน้ำเต้าทองนั้น ต้นตำรับเดิมเป็นเครื่องดื่มประจำวันของชาวจีนทางภาคใต้ บริเวณมณฑลกวางตุ้ง และกวางสี โดยหมอพื้นบ้านได้เป้นผู้ปรุงเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นตามทฤษฎียินหยาง เพื่อใช้ปรับอาการ หยางแกร่ง (พลังหยางที่มากเกินสมดุล) อาการหยางแกร่งนั้นจะแสดงออกตามร่างกายได้หลายอาการ เช่น ลิ้นแตก หรือ มีแผลปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณแก้มและเหงือก ไอร้อนมีเสมหะ หวัดมีน้ำมูกข้น คอเจ็บ คอแห้ง ถ่ายแล้วแสบทวาร เหล่านี้เป็นต้น

สาเหตุหลักของอาการเหล่านี้ก็คือ อาหาร และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรกับสุขภาพ เช่น อาหารเผ็ดมัน รสจัด ย่อยยาก หรือ ตากแดดนานหลายชั่วโมง ทำให้สมดุลของยินหยางสูญเสีย กล่าวคือมีหยางมากเกินไป หรือที่เรียกว่า อาการหยางแกร่ง นอกจากนี้การทำงานในห้องปรับอากาศตลอดวัน ก็ทำให้ยินลดลงจากสมดุล หรือเรียกว่า ยินพร่อง ทั้งนี้เมื่ออ้างอิงตาม คัมภีร์อายุรเวท ก็สามารถเปรียบเทียบได้ว่า หยางแกร่งคือ ธาตุไฟกำเริบ ยินพร่อง คือ ธาตุไฟอ่อน