หมอชาวบ้าน แพทย์แผนจีน ปีที 21 ฉบับที่ 248 หน้า 19-21 โดย นพ.วิทวัส วัณนาวิบูล
แผลร้อนในทางการแพทย์ เรียกว่าแผลแอฟทัส (Aphthous ulcer) ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจมีความเกี่ยวเนื่องกับปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน
เมื่อมีอาการเครียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ประจำเดือน พักผ่อนไม่พอ ก็ทำให้เกิดอาการแผลในปากได้การรักษาสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเอง โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ สนใจดูแลสุขภาพของตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ หรืออาจจะทานยาแก้ปวด จะหายได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
อาการแผลร้อนในเป็นผลจากความผิดปกติของร่างกาย สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าให้ท้องผูก แต่ถ้าเป็นแล้วเรื้อรังต่อเนื่องกันเกิน 3 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์
วิธีรักษาแบบจีน สาเหตุที่เกิดแผลร้อนในในช่องปากเนื่องจาก เกิดความไม่สมดุลขึ้นภายในร่างกาย (ที่เรียกว่า ยินกับหยาง) มีความร้อนในร่างกายมากเกินอาจเนื่องมาจากการกินอาหารที่มีรสเผ็ด กินอาหารที่เป็นหยางมาก เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ ของทอด ของมัน ปาท่องโก๋ ฯลฯ หรือนอนไม่เพียงพอ เกิดความเครียด สำหรับการรักษาอาการแผลร้อนในแบบจีน ทำได้ด้วยการขับพิษร้อน แต่ในระยะยาวต้องใช้ยาบำรุงไตยิน เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย
ในทัศนะของแพทย์จีน แผลในปากมักเกี่ยวข้องกับสมดุลของระบบเบญจธาตุของร่างกาย คือ กระเพาะ ม้าม ตับ หัวใจ เป็นหลัก การรักษาแผลในปากต้องดูข้อมูลอาการต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคู่ไปด้วย เพื่อหาสาเหตุหลัก เมื่อวินิจฉัยได้ถูกต้องแล้ว จึงให้การรักษาด้วยการขับพิษร้อน ร่วมกับการปรับสมดุลของร่างกายควบคู่กับไป ด้านหนึ่งเพื่อการรักษาโรคและทำให้โรคอื่นๆมีการพัฒนามากขึ้น
การรักษาแบบจีนเป็นการแก้สมดุลภายในระยะยาว เน้นการดูแลสุขภาพอาหาร และอารมณ์ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ต้องเหมาะสมกับแต่ละสาเหตุ
ดังนั้นการรักษาจึงน่าจะดำเนินไปควบคู่กับการป้องกันตนเองจากการเกิดโรคภัยอื่น ๆ ตามมา
แผลร้อนใน : เป็น ๆ หาย ๆ ทำอย่างไรดี
ผู้ป่วยไปพบแพทย์เวรที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษาโรค
คนไข้ | “คุณหมอคะดิฉันมีปัญหาเรื่องเป็นแผลในปาก เป็นร้อนในบ่อยจังเลย เป็น ๆ หายๆ ไม่หายขาดเสียที” หลังจากตรวจช่องปากคนไข้ |
แพทย์ | “คุณเป็นแผลร้อนใน ไม่ต้องตกใจ โรคนี้ทางการแพทย์เรียกว่า แผลเอฟทัส (Aphthous ulcer) สาเหตุที่แท้จริงไม่แน่ชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดเป็นแผลในช่องปาก มักสัมพันธ์กับความเครียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ประจำเดือน พักผ่อนไม่พอ คุณควรจะรักษาด้วยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาบรรเทาอาการปวด โรคจะหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์” |
คนไข้ | “แล้วจะหายขาดไหมคะ” |
แพทย์ | “ถ้าเป็นแผลร้อนใน เป็นผลจากความผิดปกติของร่างกายคงเน้นไปที่การดูแลสุขภาพให้ดี พักผ่อนให้พอ อย่าให้ท้องผูก ฯลฯ ก็จะไม่เป็นบ่อย แต่ถ้าพบว่าเป็นแล้วไม่หายง่าย เป็นเรื้อรังต่อเนื่องกันเกิน 3 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ตรวจอีกครั้งนะครับ” เรื่องของแผลในปากของผู้ป่วยคนเดียวกับ ถ้าไปพบแพทย์จีน จะพบว่ามีวิธีคิด วิธีตรวจวินิจฉัย และ การรักษาอีกแบบหนึ่ง เช่น |
แพทย์จีน | “ขอดูแผลในปากหน่อยครับ แผลที่เป็นเป็นที่เดิมหรือเปล่า มีอาการอื่นร่วมไหม” |
คนไข้ | “แผลเปลี่ยนที่ค่ะ และดิฉันปากแห้ง คอแห้ง กินน้ำวันละหลายขวด ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน” |
แพทย์จีน | “คุณมีอาการปวดเมื่อยเอว เข่าอ่อน หรือหูอื้อบ้างไหม” |
คนไข้ | “อาการเมื่อยเอว เข่าอ่อนมีบ้างค่ะ แต่หูอื้อ หูมีเสียงผิดปกติยังไม่มีค่ะ” แพทย์จีนให้ผู้ป่วยแลบลิ้นจากนั้นก็ตรวจชีพจร (แมะ) |
แพทย์จีน | “ตัวลิ้นของคุณแดงไม่ฝ้า ชีพจรเบาเล็กและเร็ว แสดงว่าคุณมีภาวะไตยินพร่อง ขาดธาตุน้ำในร่างกาย มีความร้อนในร่างกายมากเป็นพื้นฐาน อาการแผลในปากมักจะกำเริบ เมื่อได้รับปัจจัยความร้อนหรือไฟมาเสริมมากขึ้นเช่น กินอาหารรสเผ็ด กินอาหารที่เป็นหยางมาก เช่น ทุเรียน ลำใย ลิ้นจี่ ของทอด ของมัน ปาท่องโก๋ ฯลฯ หรือนอนหลับไม่เพียงพอ นอนดึก เครียดจัด การรักษาเฉพาะหน้า ต้องใช้ยาขับพิษร้อน แต่ในระยะยาวต้องใช้ยาบำรุงไตยิน เพื่อปรับสมดุลของร่างกายครับ” |
แผลในปากตามความหมายของแพทย์จีน คือ ภาวะที่เยื่อบุช่องปากาเช่นริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้มเพดานปากหรือเหงือก มีแผลเดียวหรือหลายแผล ลักษณะกลม แผลอาจมีสีเหลืองขาวเทา มักพบในวันรุ่น หนุ่มสาว และผู้หญิงเวลาใกล้มีประจำเดือน
แพทย์จีนแบ่งลักษณะแผลในปากได้เป็น 2 แบบ คือ
1. แบบแกร่ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภายนอกเป็นสำคัญ เช่น การกินอาหารที่เผ็ด ของทอด ของมันมาก เกิดการสะสมเป็นความร้อนของหัวใจและม้ามมากเกินไป ความร้อนที่มากจะส่งผ่านเส้นลมปราณของกระเพา ม้าม และหัวใจ ไปทำให้เกิดแผลในปากขึ้นและยังมีสาเหตุมาจากอารมณ์และประจำเดือนด้วย ซึ่งลักษณะของการกำเริบจะมีอยู่ 3 ลักษณะคือ ไฟกระเพาะและม้ามกำเริบ, ไฟหัวใจกำเริบ, เส้นลมปราณตับอุดกั้นไฟกำเริบ
2. แบบพร่อง สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากภาวะยินพร่อง (ขาดธาตุน้ำในร่างกาย) ยินพร่องมักเกิดจากการเจ็บป่วยเรื้อรับหรือทำงานมากเกินไป พักผ่อนไม่พอทำให้ขาดยินและไตของหัวใจ เกิดไฟจากภาวะพร่องขึ้นสู่เบื้องบนและอาจเกิดจากการพร่องของพลังม้ามทำให้การย่อยไม่ดี เกิดการอุดกั้นของน้ำและความชื้น
ซึ่งลักษณะของการพร่องจะมีอยู่ 3 ลักษณะคือ ไตยินพร่องไฟกำเริบ, ม้ามพร่อง ความชื้นอุดกั่น, พลังหยางของม้ามและไตพร่อง
สรุปได้ว่า แผลในปากในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน มักมุ่งเน้นไปที่สาเหตุจากภายนอกเป็นหลัก เช่น เป็นแผลจากเริม เป็นแผลจากเชื้อรา ก็รักษาตามสาเหตุและแก้อาการ
ถ้าเป็นแผลที่มุมปาก 2 ข้าง และขาดอาหารก็ให้การรักษาด้วยวิตามิน บี2 ส่วนแผลร้อนในเป็นเรื่องความผิดปกติของระบบอิมมูนของร่างกาย ก็เน้นการปฏิบัติตัวและแก้อาการ ถ้าเป็นแผลที่เรื้อรังมีฝ้าขาวๆ หนาๆ ไม่หายง่าย หรือเป็นมากกว่า 3 สัปดาห์ ต้องระวังเรื่องมะเร็งในช่องปาก ซึ่งต้องตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อและทำการรักษาต่อไป
ในทัศนะแพทย์จีนแผลในปากมักเกี่ยวข้องกับสมดุลของระบบเบญจธาตุของร่างกาย คือ กระเพาะ ม้าม หัวใจ ตับ ไต เป็นหลัก
การรักษาแผลในปากต้องดูข้อมูลอาการต่าง ๆ ของร่างกายควบคู่ไปด้วย เพื่อหาสาเหตุหลัก เมื่อวินิจฉัยได้ถูกต้องแล้ว จึงให้การรักษาด้วยการขับพิษร้อน ร่วมกับการปรับสมดุลของร่างกายควบคู่กับไป ด้านหนึ่งเพื่อการรักษาโรคและทำให้อาการอื่นๆ ดีขึ้นด้วย
อีกด้านหนึ่งเพื่อสร้างสมดุลของร่างกายและไม่ให้โรคมีการพัฒนามากขึ้น เน้นที่การแก้สมดุลภายในระยะยาว การดูแลสุขภาพและอาหาร อารมณ์ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ต้องเหมาะสมกับแต่ละสาเหตุ
อย่างไรก็ตามการแพทย์แผนปัจจุบันสามารถบูรณาการให้เกิดคุณภาพใหม่ในการรักษา และป้องกันการพัฒนาเปลี่ยนแปลงโรค ดีกว่าจะใช้องค์ความรู้ด้านใดด้านหนึ่งอย่างตายตัวเฉพาะส่วน ภูมิปัญญาของตะวันออกและตะวันตกมิได้ดีหรือด้อยไปกว่ากันเท่าใดนัก